บทนำสู่ลูกา

พระผู้ช่วยให้รอดสำหรับทุกคน

เหตุการณ์สำคัญแห่งประวัติศาสตร์ คือ พระเจ้ามาเพื่อแสวงหาและช่วยผู้หลงหาย

เราควรอ่านลูกาอย่างไร

ในพระกิตติคุณแต่ละฉบับ ล้วนแต่มีอรรถรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใคร ขึ้นอยู่กับว่าผู้เขียนแต่ละท่านจะพรรณาเกี่ยวกับชีวิตและงานพันธกิจของพระเยซูออกมาอย่างไร ลูกาเป็นหนึ่งในสาวกของเปาโล ซึ่งเป็นหมอที่ไม่เป็นชาวยิว เขามาจากแคว้นมาซิโดเนีย ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในอาณาจักรโรม ถึงแม้ว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ด้วยตนเองแต่เขาก็ได้ค้นคว้าหาข้อมูลจากบรรดาผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ (ลูกา 1:1-3) ด้วยความมุ่งมั่นในการสืบหาเพื่อนำมาซึ่งเรื่องราวต่างๆ ที่ประเมินค่าไม่ได้และไม่ได้มีการบันทึกไว้ในฉบับพระกิตติคุณฉบับอื่นๆ ลูกาต้องการที่จะเขียนให้แน่ใจได้ว่าเขาได้เล่าเรื่องราวอย่างครบถ้วน ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงรายละเอียดของการเกิดของพระเยซู ชีวิต การตายและการฟื้นคืนชีวิตของพระองค์
ลูกาเป็นฉบับที่ชี้ให้เห็นที่ให้เห็นถึงความเป็นส่วนตัว เราจะเห็นได้ว่าคนได้พบกับพระเยซูในแบบตัวต่อตัวที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง คนเหล่านี้คือ กลุ่มคนที่ถูกเหยียดหยามและถือเป็นเศษแดนสังคมทางศาสนา ยกตัวอย่างเช่น 
ผู้หญิง คนที่ไม่ใช่ชาวยิว คนป่วย ผู้ที่หลงหาย ผู้ที่บอบช้ำ คนยากไร้ คนที่ด้อยโอกาส คนที่ทนทุกข์ทรมาน คนที่ไร้อำนาจทางสังคม และคนที่เป็นที่น่ารังเกียจ มีเพียงฉบับลูกาเท่านั้นที่ได้บันทึกคำอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียใจดี และมีเพียงฉบับนี้เท่านั้นที่ได้รวบรวมเอาคำอุปมาอีกสามเรื่องที่เขียนเรียบเรียงไว้ตรงใจกลางฉบับในบทที่ 15 ซึ่งก็คือ คำอุปมาเรื่องเหรียญหาย คำอุปมาเรื่องแกะหลงหาย และคำอุปมาเรื่องบุตรที่หลงหาย ใจความหลักที่เห็นได้อย่างเด่นชัดจากคำอุปมาทั้งสามเรื่องราวนี้สามารถสรุปด้วยคำพูดของพระเยซูได้ว่า “ด้วยว่าบุตรมนุษย์ได้มาเพื่อแสวงหาและช่วยผู้หลงหายให้รอดพ้น” (19:10)

ใครเป็นผู้เขียนฉบับนี้และเขียนเมื่อไหร่

ลูกาซึ่งเป็นแพทย์ที่ไม่ใช่ชาวยิว และเป็นสหายที่ร่วมงานและเดินทางกับอัครทูตเปาโล ซึ่งอาจจะเขียนฉบับนี้ขึ้นระหว่างปีคศ. 59 และ 63 เขายังได้เขียนอีกฉบับในพันธสัญญาใหม่คือ กิจการของอัครทูต ทั้งสองฉบับนี้นำเสนอเรื่องราวด้วยการจัดเรียงทางด้านภูมิศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ:


ลูกา 1:1-4:13 การเกิดของพระเยซู พระเยซูในช่วงวัยเด็ก และการรับบัพติศมา
ลูกา 4:14-9:50 งานพันธกิจของพระเยซูในกาลิลีและที่ที่ไกลออกไป
ลูกา 9:51-19:35 งานพันธกิจของพระเยซูซึ่งอยู่ในระหว่างทางไปกรุงเยรูซาเล็ม (อ้างอิง ลูกา 9:53;10:38;13:22; 17:11; 18:31; 19:11,28)
ลูกา 19:36-24:53 พันธกิจของพระเยซูในกรุงเยรูซาเล็ม
กิจการ 1:1-7:60 พันธกิจของคริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็ม
กิจการ 8:1-12:25 พันธกิจของคริสตจักรในทั่วแคว้นยูเดียและสะมาเรีย
กิจการ 13:1-28:31 พันธกิจของคริสตจักรสู่สุดปลายแผ่นดินโลก (ดู กิจการ 1:8)

เหตุผลที่เขียนและเขียนถึงใคร

ลูกาเขียนถึงเธโอเฟลัส อาจจะเป็นหนึ่งในคนนอกที่อาจจะมาเชื่อใหม่หรืออาจจะเป็นบางคนที่แสวงหาเพื่อที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับพระเยซู เธโอเฟลัส หมายถึง “ที่รักของพระเจ้า” นี้เองทำให้หลายคนคิดว่าฉบับนี้ได้เขียนถึงผู้คนที่รักพระเจ้า ลูกาหวังว่าเธโอเฟลัสและผู้อ่านคนอื่นๆ จะได้เรียนรู้ว่าพระเจ้ารักที่จะยื่นมือออกไปเพื่อที่จะโอบกอดคนจากทุชนชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวยิวหรือคนนอก

เราจะเข้าใจพระคัมภีร์แบบแสดงผู้พูดให้ลึกซึ้งได้อย่างไร

คนที่มีบทพูดเป็นตัวสนับสนุน (ตัวหนังสือสีน้ำเงิน) ซึ่งพบได้ในฉบับพระกิตติคุณทั้งสี่ฉบับ ประกอบด้วย 99 คนหรือกลุ่มคนที่ต่างกันออกไป โดยมีแปดคนที่สามารถพบได้จากฉบับพระกิตติคุณทั้งสี่ฉบับเพราะเป็นตัวหลักในเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ ซึ่งนั่นก็คือ ยอห์นผู้ให้บัพติศมา ฝูงชน พวกฟาริสี กลุ่มผู้นำชาวยิว ปีลาตผู้ว่าราชการของโรม คนที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ทรมานพระเยซูคริสต์ ทาสรับใช้หญิง นายร้อย แล้วก็ยังมีอีก 32 คนที่มีบทพูดอยู่ในพระกิตติคุณหลายๆ ฉบับแต่ไม่ปรากฏในทุกฉบับ พวกเขาอยู่ในกลุ่มคนจำนวนสิบเอ็ดคนที่มีบทพูดเพียงสามฉบับแรกของพระกิตติคุณ มีคนหนึ่งที่บทพูดในทั้งสามฉบับยกเว้นฉบับลูกา และมีอีกคนหนึ่งที่มีบทพูดในทั้งสามฉบับยกเว้นมาระโก นอกเหนือจากนั้น คนที่มีบทพูดอยู่ในเฉพาะฉบับมัทธิวและมาระโกหกคน เฉพาะฉบับมัทธิวกับลูกาสี่คน เฉพาะฉบับมาระโกกับลูกาอีกสี่คน เฉพาะฉบับมาระโกกับยอห์นหนึ่งคน และอีกสี่คนที่มีบทพูดอยู่ในฉบับลูกากับยอห์นเท่านั้น คุณพอที่จะหาพวกเขาทั้ง 32 คนได้ไหม จึงเหลืออีกแค่ 59 คน ที่มีบทพูดอยู่ในฉบับพระกิตติคุณแค่ฉบับเดียวเท่านั้น เมื่อพิจารณาดูบทบาทเฉพาะที่คนเหล่านี้ได้ถูกรวบรวมไว้ในเรื่องราวของฉบับพระกิตติคุณแต่ละฉบับ ก็ช่วยให้ผู้อ่านสามารถค้นพบจุดแตกต่างที่โดดเด่นของฉบับนี้ได้ ซึ่ง 30 คนแรก จะพบได้ในสามฉบับ 
(มัทธิว 7 คน มาระโก 5 คน และยอห์น 18 คน) คุณพอที่จะค้นหาได้ไหมว่าคนเหล่านี้คือใครบ้าง และให้พิจารณาถึงความสำคัญที่ผู้เขียนฉบับพระกิตติคุณแต่ละฉบับจึงได้เลือกเอาคำพูดของคนเหล่านี้มาเป็นองค์ประกอบในการเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ ซึ่งจำนวนมากกว่าครึ่งของคนที่มีบทพูดอยู่ในเฉพาะฉบับพระกิตติคุณเพียงฉบับเดียว สามารถอ่านเจอได้ในฉบับฉบับลูกา (29 คนถ้วน) คือ:


  • ทูตสวรรค์กาเบรียล
  • หญิงคนหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มคนทูตสวรรค์กลุ่มใหญ่
  • ผู้ร้ายคนที่ไม่ได้กลับใจเคลโอปัส
  • ผู้ร้ายคนที่ได้กลับใจเคลโอปัส & เพื่อนของเขา
  • เพื่อนของนายร้อยแขกรับประทานอาหาร
  • คนเลี้ยงแกะเอลีซาเบธ
  • สิเมโอนเพื่อนบ้านของเอลีซาเบธ
  • ฟาริสที่ชื่อซีโมนชายผู้หนึ่งเป็นโรคเรื้อน
  • คนที่อยู่ในบ้านของซีโมนชายโรคเรื้อนสิบคน
  • ศาสนสภาเจ้าของลูกลา
  • พวกฟาริสี & พวกอาจารย์คนในเมืองคาเปอร์นาอุม
  • ผู้อาวุโสบางคนคนในแคว้นยูเดีย
  • ผู้อยู่ในระดับปกครองศาลาคนในเมืองนาอิน
  • ศักเคียสชายคนหนึ่งบนถนน
  • เศคาริยาห์คนหนึ่งในฝูงชน

เมื่ออ่านคำพูดของคนเหล่านี้แล้วจะช่วยให้คุณได้ค้นพบมุมมองพิเศษที่ลูกาได้เขียนบันทึกไว้ในฉบับนี้ ให้มองเห็นเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์ของลูกา ซึ่งไม่สามารถอ่านเจอได้จากฉบับพระกิตติคุณในอีกสามฉบับที่เหลือ หลังจากนั้นให้ใช้เวลาที่จะคิดไตร่ตรองดูว่าทำไมลูกาถึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวเหล่านี้ไว้ คุณอาจจะค้นพบขุมทรัพย์เล็กๆ จากการจดจ่อกับเรื่องราวที่เป็นเรื่องเฉพาะเล็กๆ เช่นนี้ เหมือนตัวอย่างอธิบายดังต่อไปนี้:
การตอบสนองด้วยความเชื่อ: เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามในฉบับลูการะหว่างเศคาริยาห์และมารีย์


บอกถึงการเกิดของยอห์น
(ลูกา 1:5-25)
บอกถึงการเกิดของพระเยซู
(ลูกา 1:26-56)
1:11 ส่งทูตสวรรค์กาเบรียล 1:26 ส่งทูตสวรรค์กาเบรียล
1:13 อาลีซาเบธจะให้กำเนิดบุตรชาย 1:31 มารีย์จะให้กำเนิดบุตรชาย
1:17 จัดเตรียมชนชาติหนึ่งไว้สำหรับองค์พระผู้เป็นเจ้า 1:33 และจะครองพงศ์พันธุ์ของยาโคบ
1:18 ข้าพเจ้าจะแน่ใจได้อย่างไรในเมื่อข้าพเจ้าและภรรยาอายุมากแล้ว 1:34 สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไรในเมื่อข้าพเจ้าเป็นพรหมจาริณี
1:20 เพราะท่านไม่เชื่อคำของเรา 1:45 เธอคือผู้ที่ได้รับพระพรเพราะเธอเชื่อ
1:22 เศคาริยาห์ไม่สามารถพูดได้ 1:46 มารีย์สรรเสริญพระเจ้า

พระคัมภีร์ ฉบับแปลใหม่ (NTV) ฉบับ 2016
สงวนลิขสิทธิ์ © 1998, 2012
โดย หน่วยงานพระคัมภีร์ฉบับแปลใหม่

© 2018 SourceView LLC.
11