บทนำสู่กิจการของอัครทูต

ข่าวประเสริฐสำหรับคนทั้งปวง

การขยายใหญ่ที่ยังทำให้โลกต้องสั่นคลอน

เราควรอ่านกิจการของอัครทูตอย่างไร

หลังจากการสิ้นชีวิตของพระเยซูคริสต์แล้ว พันธกิจของพระองค์ก็ยังคงดำเนินต่อไปในชีวิตของคริสตจักรในยุคต้นๆ และเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ผ่านทางชีวิตของคนของพระองค์ กิจการของอัครทูตเป็นเรื่องราวของผู้เชื่อในยุคต้นๆ ซึ่งเป็นผู้ที่นำคำสอนของพระเยซูมาใช้ในชีวิตของเขาผ่านทางฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ เรื่องราวที่สร้างกำลังใจ แม้ต้องเผชิญกับความยากลำบาก แต่คริสตจักรก็ยังสามารถดำเนินต่อและเติบโตขึ้นยิ่งกว่า ทั้งชีวิตที่เกิดการเปลี่ยนแปลง การฟื้นฟู และการเติบโตของคริสตจักร สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความมานะพยายามของมนุษย์เท่านั้น แต่เกิดจากการทำงานร่วมกันกับพระวิญญาณบริสุทธิ์
ฉบับกิจการฯ ได้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งสามสิบปี แต่อย่างไรก็ตามทุกหน้ายังเต็มไปด้วยรายละเอียดที่แม่นยำและการบรรยายเรื่องแบบฉากละคร บทแรกของฉบับกิจการพูดถึงวิธีการเพิ่มจำนวนคริสตจักร คือผ่านทางฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ การเติบโตอย่างรวดเร็วได้เกิดขึ้นเมื่อข่าวประเสริฐได้ทำลายกำแพงของธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างชาวยิวกับคนที่ไม่ใช่ชาวยิว คริสตจักรได้ขยายในด้านภูมิศาสตร์ออกไปไกลกว่ากรุงเยรูซาเล็ม โดยที่เปโตรและเปาโลเป็นบุคคลหลักในเรื่องราวเหล่านี้: เปโตรที่เป็นเหมือนที่ยึดเหนี่ยวทาง
ความเชื่อของชาวยิวในกรุงเยรูซาเล็ม และเปาโลได้ออกประกาศในเขตแดนใหม่ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีของคริสตจักรคนแรกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหมู่คนที่ไม่เป็นชาวยิว
เราได้รับมรดกของพันธสัญญาและพระมหาบัญชาที่พระเยซูได้ฝากฝั่งให้กับเหล่าผู้เชื่อ พระวิญญาณบริสุทธิ์องค์เดียวกันที่ทำงานในสมัยของกิจการของอัครทูตยังคงทำงานในเรื่องราวของเราในปัจจุบันนี้ ดังนั้นเราจึงใช้ความกระตือรือร้นและความเชื่อของผู้เชื่อของพี่น้องของเราในยุคแรกเริ่ม ตอนนี้มันถึงคราวเราแล้วที่จะเป็นพยานเกี่ยวกับพระเยซู “ไปจนถึงสุดปลายแผ่นดินโลก” (กิจการ 1:8)

ใครเป็นผู้เขียนฉบับนี้ และ เขียนเมื่อไหร่

ลูกา ผู้เขียนหนังสือพระกิตติคุณที่ได้ตั้งตามชื่อของเขา และได้เขียนกิจการของอัครทูตในช่วงเวลาประมาณปี ค.ศ.63-70 ฉบับลูกาและกิจการของอัครทูตเมื่อนำมาเรียงกันนั้นมีความยาวเป็นจำนวนหนึ่งในสี่ของพันธสัญญาใหม่

เหตุผลที่เขียนและเขียนถึงใคร

ในฐานะที่เป็นนักประวัติศาสตร์ ลูกาได้เขียนถึงเธโอฟีลัส (ชื่อนี้มีความหมายว่า “ผู้ที่พระเจ้ารัก”) เพื่อที่จะบอกว่าได้เกิดอะไรขึ้นหลังจากที่พระเยซูได้ฟื้นคืนชีวิต กิจการของอัครทูตเป็นฉบับที่สองของข่าวประเสริฐ เป็นเรื่องราวต่อเนื่องจากพระกิตติคุณ ในฉบับนี้ลูกาได้อธิบายถึงการเติบโตอย่างน่าอัศจรรย์ของคริสเตียน อาจจะเป็นไปได้ ที่จะทำให้คริสจักรนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฏหมายต่อผู้ที่มีอำนาจหรือเพื่อที่จะยืนยันถึงความเชื่อของผู้เชื่อ บางทีลูกาอาจจะต้องการที่จะให้ผู้เชื่อเข้าใจว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทำงานอย่างไรจึงช่วยให้ความแตกแยกในประวัติศาสตร์ระหว่างชาวยิวและไม่ใช่ชาวยิวนั้นให้หายไป

เราจะเข้าใจพระคัมภีร์แบบแสดงผู้พูดให้ลึกซึ้งได้อย่างไร

มีบุคคลสำคัญสองคนในกิจการของอัครทูตคือ เปโตร และเปาโล เปโตรมีบทพูดทั้งหมด 28 ครั้ง (5,896 คำ)- เขามีบทพูดเพียงคนเดียว 24 ครั้ง และ อีก 4 ครั้งเขาได้มีบทพูดร่วมกับผู้อื่น เปาโลมีบทพูดทั้งหมด 48 ครั้ง (9,549 คำ)-ใน 44 ครั้งเขามีบทพูดเพียงคนเดียวและอีก 4 ครั้งเขาได้มีบทพูดร่วมกับผู้อื่น คำพูดของทั้งสองคนเป็น 45.6 เปอร์เซ็นต์ของหนังสือกิจการของอัครทูต (เปโตร 17.4 เปอร์เซ็นต์ และเปาโล 28.2 เปอร์เซ็นต์)


ให้พิจารณาการเปรียบเทียบดังต่อไปนี้:
ทั้งสอง... เปโตร เปาโล
รักษาคนง่อยตั้งแต่เกิด 3:6 14:10
ถูกลอบทำร้าย 4:1-3; 5:17-18; 12:2-5 9:23-25,29; 13:45-50; 14:19; 16:19-39; 17:5-9,13; 19:23-41; 20:3; 21:27-35; 23:12-15; 25:2-3
ได้เป็นพยานต่อหน้าที่ประชุมชั้นสูงของชาวยิว 4:5-22; 5:17-41 22:30-23:10
ได้ทำการอัศจรรย์ที่เหนือธรรมชาติ 5:15-16 19:11-12
ได้รับการปล่อยตัวจากการถูกจองจำในคุกอย่างเหนือธรรมชาติ 5:18-25; 12:6-16 16:23-40
เทศนาอย่างกล้าหาญท่ามกลางการข่มเหง 5:21 14:20
อธิษฐานสำหรับการบัพติศมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ 8:17 19:6
เผชิญหน้ากับหมอผี 8:18-24 13:8-11
ช่วยให้คนตายฟื้น 9:36-42 20:7-12
ได้รับนิมิตสำหรับชาวต่างชาติ 10:10-16 16:9-10
ถูกนมัสการโดยมนุษย์ 10:25 14:11-18
เทศนาให้กับครอบครัวของเจ้าหน้าที่ของโรมัน 10:24 16:31
เล่าเรื่อง “การเปลี่ยนความเชื่อ” ครั้งแรก 10:1-47 9:1-22
เล่าเรื่อง “การเปลี่ยนความเชื่อ” ครั้งที่สอง 11:4-18 22:3-21
เล่าเรื่อง “การเปลี่ยนความเชื่อ” ครั้งที่สาม 15:7-11 26:2-23

เราอ่านและลองคิดไตร่ตรองในบทพูดที่ยาวที่สุดของผู้นำทั้งสอง ไม่มีสิ่งใดที่คล้ายคลึงและแตกต่างระหว่างพวกเขา บทพูดหลักๆ ของเปโตรคือ:

  • คำสอนของเขาในพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มในวันเทศกาลเพ็นเทคศเต (ซีโมนเปโตร 2-4)
  • คำสอนของเขาในพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มหลังจากที่เขาได้รักษาคนง่อยตั้งแต่กำเนิด (ซีโมนเปโตร 7-8)
  • คำพยานของเขาให้กับผู้เชื่อในกรุงเยรูซาเล็มหลังจากที่เจอกับโครเนลิอัส (ซีโมนเปโตร 22)

บทพูดหลักของเปาโลคือ:
  • คำสอนของเขาในศาลาที่ประชุมที่เมืองอันทิโอกในแคว้นปิสีเดีย เมื่อตอนที่เดินทางไปออกประกาศครั้งแรก (เปาโล 3)
  • คำพยานของเขาในพระวิหารในกรุงเยรูซาเล็มในช่วงเวลาที่เขาถูกจับ (เปาโล 22-23)
  • คำพยานของเขาที่ซีซารียา ต่อหน้ากษัตริย์อากริปปา และ ผู้ว่าราชการ
    ปอร์สิอัส เฟสทัส (เปาโล 35)

นอกเหนือไปจากบทพูดของเปโตรและเปาโล ยังมีบทพูดเสริมอีก 62 คนในฉบับกิจการฯ โดยเป็นบทพูดทั้งที่เป็นของคนๆ เดียว กลุ่มคน มนุษย์ วิญญาณชั่ว และทูตสวรรค์ ส่วนที่เป็นสีฟ้าในฉบับกิจการฯ มีหมดทั้งสิ้น 30 เปอร์เซ็นต์ 
บทพูดที่ยาวที่สุดที่เป็นสีฟ้าคือ:
  • คำสอนของสเทเฟนในกรุงเยรูซาเล็มเมื่อในการพิจารณาคดีต่อหน้าสภาสูงของชาวยิว (สเทเฟน 1)
  • คำอธิบายของเฟสทัส ให้กับ เฮโรด อากริปปา เกี่ยวกับคดีของเปาโล (ผู้ว่าราชการปอร์สิอัส เฟสทัส 4)
  • คำตัดสินความของยากอบในเรื่องบทสรุปของประชุมสภาในกรุงเยรูซาเล็ม (ยากอบพี่ชายของพระเยซู 1)

พระคัมภีร์ ฉบับแปลใหม่ (NTV) ฉบับ 2016
สงวนลิขสิทธิ์ © 1998, 2012
โดย หน่วยงานพระคัมภีร์ฉบับแปลใหม่

© 2018 SourceView LLC.
11