บทนำสู่ยอห์น

เพื่อเจ้าจะเชื่อ

พระเยซูแสดงตนในฐานะพระบุตรของพระเจ้า ผู้เปี่ยมด้วยพระคุณและความจริง

เราควรอ่านยอห์นอย่างไร

ในสมัยของพระเยซูมีระบบความเชื่อที่หลากหลายที่กำลังแข่งขันกันเหมือนอย่างในสมัยของเราขณะนี้ คือล้วนแต่แสวงหาการเชื่อมต่อกับโลกฝ่ายวิญญาณที่เหนือมนุษย์ มีทั้งศาสนาที่ให้ความสำคัญแด่เทพเจ้าแห่งฤทธิ์อำนาจและการแก้แค้น บ้างก็นมัสการเทพเจ้าแห่งความเงียบสงบและไม่สนใจต่อการทนทุกข์ของผู้อื่น บ้างก็นับถือเทพเจ้าแห่งความล้ำลึกและไม่สามารถเป็นที่รู้จักได้ ที่สามารถรวบรวมเอามนุษยชาติเข้ามาสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกับมหาสมุทรแห่งจักรวาลที่ยิ่งใหญ่ บางคนก็นมัสการ “เทพเจ้า” แห่งวัตถุนิยม การมีชื่อเสียง และการบันเทิง มีเพียงความเชื่อเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ ความเชื่อของคริสเตียนที่นมัสการพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่เป็นที่รู้จักเนื่องจากการเสียสละด้วยความรักของพระองค์ ฉบับนี้เขียนโครงเรื่องที่พระเจ้าผู้เป็นหนึ่งเดียวเฉพาะองค์นี้ปรากฎให้เห็นในองค์พระเยซูคริสต์ คือผู้เป็นพระเจ้าที่มาเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง
จากเรื่องราวชีวิตของพระเยซูคริสต์ คุณจะเผชิญกับการยืนยันอันน่าประหลาดใจว่าพระองค์เป็นใครและพระองค์ลงมาทำอะไร ยอห์นได้บอกเราว่าเขาได้เลือกมาเพียงไม่กี่เรื่องจากเรื่องราวนับล้านเพื่อบันทึกเกี่ยวกับสิ่งที่พระเยซูได้ทำเพื่อที่จะช่วยให้เรามีความเข้าใจว่าพระเยซูเป็นผู้ใด เขาได้บันทึกการอัศจรรย์ที่พระองค์ได้ทำแค่เจ็ดอย่างเท่านั้น จุดสำคัญอยู่ตรงที่พระเยซูฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง สำหรับยอห์นแล้วหมายสำคัญเหล่านี้ได้เป็นเครื่องพิสูจน์ที่ไม่อาจหักล้างได้เลยว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น ยอหน์พูดอีกว่า “แม้ทั้งโลกก็จะไม่มีที่พอสำหรับหนังสือที่จะเขียนขึ้น” (ยอห์น 21:25) เขาได้บันทึกหมายสำคัญอันยิ่งใหญ่ทั้งหมดที่พระเยซูได้ทำหรือเปล่า แล้วทำไมเขาถึงต้องบอกเราเฉพาะเรื่องที่เขาเลือกมาเท่านั้น? ก็เพื่อที่จะดึงเอาการตอบสนองด้วยความเชื่อในหัวใจของเราออกมา “เพื่อท่านจะได้เชื่อว่าพระเยซูเป็นพระคริสต์พระบุตรของพระเจ้า และเมื่อท่านเชื่อในพระนามของพระองค์ ท่านจะได้มีชีวิต” (ยอห์น 20:31)
จงบันทึกจุดเด่นสำคัญที่เป็นเฉพาะของฉบับยอห์นไว้ เขาได้ใช้สัญลักษณ์ของแสงสว่างและชีวิตเพื่อที่จะอธิบายถึงการทำงานของพระเจ้าในโลกใบนี้ เขาได้รวบรวมเอาคำเทศนาของพระเยซูหลายๆ ครั้งที่ไม่สามารถหาเจอได้ใน
พระกิตติคุณฉบับอื่นๆ (พระเยซู 16,33,76-78,99-116) เขาได้เน้นไปที่คำพูดหลายๆ ครั้งของพระเยซูที่บอกว่า “เราคือ” พระเยซูได้ประกาศว่าพระองค์เป็นพระเมสสิยาห์ อาหารที่มีชีวิตซึ่งลงมาจากสวรรค์ ผู้ที่พระองค์ส่งมา ความสว่างของโลก ประตู ผู้เลี้ยงที่ดี บุตรของพระเจ้า การฟื้นคืนชีวิต ชีวิต หนทาง 
ความจริง เถาองุ่นแท้ และกษัตริย์ของชาวยิว คำพูดเหล่านี้ก็ควรที่จะเป็นเหตุผลเพียงพอที่จะทำให้คุณเชื่อ!

ใครเป็นผู้เขียนฉบับนี้

อัครสาวกยอห์น- เป็นหนึ่งในสิบสองสาวกของพระเยซู

เขียนเมื่อไหร่และที่ไหน

ในช่วงเวลาระหว่างปีคศ. 80 และ 95 (ถึงแม้ว่านักวิชาการหลายท่านได้โต้เถียงว่าฉบับนี้เขียนขึ้นในช่วงต้นปี 50 และไม่น่าจะเกินปี 70) ยอห์นน่าจะอยู่ในเมืองเอเฟซัส ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในประเทศตุรกีในปัจจุบันนี้

เขียนถึงใคร

ผู้ติดตามพระเยซูที่ไม่ได้เป็นชาวยิว โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหากับปรัชญาของกรีก ซึ่งได้สอนว่าความรอดนั้นมาจากการที่เรามีความรู้ที่พิเศษและที่ว่าพระเยซูนั้นเป็นพระเจ้าแต่ไม่ได้เป็นมนุษย์จริงๆ ยอห์นได้ยืนยันว่าความรอดนั้นได้รับมาโดยการเชื่อในพระบุตรของพระเจ้าผู้ซึ่งลงมาเป็นมนุษย์ที่มีเนื้อหนังจริงๆ

เหตุผลที่เขียน

ยอห์นเองได้พูดอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายของเขา (ดู ฉบับยอห์น 20:31) 
การเขียนพระกิตติคุณของเขาโดยมีเป้าหมายในการประกาศนั้น เขาต้องการให้ผู้คนที่จะมีชีวิตนิรันดร์ ด้วยการรู้จักกับพระเยซูคริสต์

จะเข้าใจพระคัมภีร์แบบแสดงผู้พูดให้ลึกซึ้งได้อย่างไร

จำนวนสาวกของพระเยซูคริสต์มีสิบสองคนแต่มีเพียงสามคนที่ไม่มีบทพูดในฉบับยอห์น นั่นคือ: มัทธิวที่ชื่อเดิมคือเลวี ยากอบบุตรอัลเฟอัส และซีโมนพรรคชาตินิยม (ดูบทนำของมัทธิว) ส่วนอีกเก้าคนที่เหลือนั้นมีบทพูดอยู่ในหนังสือยอห์นมากเสียยิ่งกว่าในพระกิตติคุณฉบับอื่นๆ สาวกที่มีบทพูดน้อยที่สุดคือยากอบ ที่เป็นน้องชายของตนเอง นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของพี่น้องใช่ไหม รายละเอียดจำนวนคำพูดของสาวกแต่ละคนที่ถูกบันทึกในพระกิตติคุณแต่ละฉบับ:


มัทธิว มาระโก ลูกา ยอห์น
ซีโมนเปโตร 390 260 332 328
อันดรูว์ - - - 82
ยอห์นที่เป็นสาวก 2 190 116 122
ยากอบ 2 130 18 -
ฟีลิป - - - 152
นาธานาเอล - - - 62
โธมัส - - - 152
ยูดาส (มิใช่อิสคาริโอท) - - - 18
ยูดาสอิสคาริโอท 106 48 - 54

จากเรื่องเล่าของพระกิตติคุณทั้งสี่ฉบับ ซีโมนเปโตรเป็นผู้นำในการพูดในหมู่สาวก ต่อจากเขาก็เป็นยูดาสอิสคาริโอทในฉบับมัทธิว ยอห์นที่เป็นสาวกได้ตามมาในฉบับมาระโกและลูกา แต่โธมัสได้รับเกียรตินั้นในฉบับยอห์น จากเป้าหมายที่ยอห์นได้กล่าวไว้ใน บทที่ 20 ข้อ 31 เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ยากสำหรับโธมัสที่จะเชื่อว่าพระเยซูได้เป็นขึ้นมาจากความตาย ซึ่งก็เป็นเสมือนกุญแจสำคัญสำหรับยอห์นที่จะเน้นถึงสิ่งสำคัญในเรื่องของความเชื่อและการไว้วางใจในคำพยานของผู้ที่เป็นพยานและผู้พบเห็นในการฟื้นคืนชีวิตของพระเยซู บางครั้งเรานั้นก็ล้อเลียนโธมัสว่าเป็น “คนขี้สงสัย” (โธมัส 3) เมื่อในความเป็นจริงแล้วเขาได้เป็นตัวอย่างของการอุทิศตนที่สุดขั้วของเขา เขาเป็นคนแรกที่ได้แสดงออกมาถึงความต้องการที่จะวางชีวิตของเขาลงเพื่อพระเจ้าด้วยคำพูดที่ว่า “พวกเราไปด้วยกันเถิด เราจะได้ตายไปกับพระองค์” (โธมัส 1) แม้จะเป็นคำพูดที่ไร้ซึ่งความหวังและเล็งเห็นเพียงความพินาศที่อยู่ตรงหน้า แต่ก็เป็นการแสดงออกโดยความมุ่งมั่น และให้อุทิศตนด้วยใจจริง แล้วคุณล่ะ จะเดินไปไกลขนาดไหนกับพระเยซู

พระคัมภีร์ ฉบับแปลใหม่ (NTV) ฉบับ 2016
สงวนลิขสิทธิ์ © 1998, 2012
โดย หน่วยงานพระคัมภีร์ฉบับแปลใหม่

© 2018 SourceView LLC.
11